This printed article is located at https://investor-th.thaiunion.com/sustainable.html

“BLUE FINANCE”

“ไทยยูเนี่ยนให้ความสำคัญกับความยั่งยืนซึ่งเป็นหัวใจของธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์ความยั่งยืนระดับโลก SeaChange® ที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งขณะนี้กำลังเข้าสู่ก้าวต่อไปที่สำคัญ โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุน “Healthy Living, Healthy Oceans” ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดี และการอนุรักษ์มหาสมุทรไปพร้อมกัน”

ในปี 2564 ไทยยูเนี่ยนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการเปิดตัวการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการออกหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bonds: SLBs) เป็นครั้งแรกของประเทศไทย และการกู้ยืมจากสินเชื่อส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loans: SLLs) ในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกของเรา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากตลาดการเงิน จากความมุ่งมั่นของเราในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ไม่จำกัดเฉพาะการดำเนินงานของเราเองเท่านั้น แต่เราได้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในระดับอุตสาหกรรมด้วย ซึ่งการยอมรับจากสถาบันการเงินต่อความคิดริเริ่มในการพัฒนาด้านความยั่งยืนนี้ เป็นผลจากความทุ่มเทในการทำงานของเราและความสำเร็จในการเปิดตัวโปรแกรม SeaChange® ที่แสดงให้เห็นว่าทั่วโลกมีความสนใจในธุรกิจที่มีจริยธรรมเพิ่มมากขึ้นและนักลงทุนจำนวนมากมีความต้องการที่จะสนับสนุนบริษัทที่มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง

ในปี 2566 ไทยยูเนี่ยนจะประกาศความคืบหน้าของ SeaChange®ปี 2573 สำหรับเป้าหมายใหม่และความมุ่งมั่นใหม่ ซึ่งจะรวมถึงการดําเนินการเพื่อปรับปรุงแก้ไขเรื่องต่างๆ อันได้แก่ การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ การแก้ปัญหาที่เกี่ยงข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างความมั่นใจว่าสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์จะได้รับการคุ้มครองรวมถึง การตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติซึ่งต้องได้รับการฟื้นฟูและบริหารจัดการอย่างยั่งยืน

นายธีรพงศ์ จันศิริ

ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

การเปิดตัวการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืน (Sustainability-Linked Financings) นับเป็นก้าวที่สำคัญของไทยยูเนี่ยนในปี 2564 เพื่อปรับเปลี่ยนการจัดหาเงินทุนในรูปแบบดั้งเดิมไปสู่ “Blue Finance” ซึ่งเป็นการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อมหาสมุทรและอุตสาหกรรมอาหารทะเลโดยรวม

การจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนนั้น เป็นเครื่องมือทางการเงินประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะหรือโครงสร้างทางการเงินของเครื่องมือหรือตราสารอาจเปลี่ยนแปลงไปตามระดับการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนหรือ ESG ของผู้ออกเครื่องมือหรือตราสารนั้น ตามที่ได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยการจัดหาเงินทุน Blue Finance เป็นวิธีการหนึ่งที่บริษัทสามารถดำเนินการร่วมกับพันธมิตรในแวดวงการเงินเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่จะส่งเสริมจุดมุ่งหมายของไทยยูเนี่ยนในการอนุรักษ์มหาสมุทร ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากทั้งในธุรกิจของเราและต่อโลกใบนี้ ขณะที่เรายังคงดำเนินธุรกิจเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์ที่เน้นประโยชน์ต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพทั่วโลกต่อไป

อัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ยืมจากสินเชื่อส่งเสริมความยั่งยืน (SLLs) และหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน (SLBs) จะเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลัก (KPIs) และเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ยั่งยืน (Sustainability Performance Targets: SPTs) ซึ่งผู้กู้จะมีต้นทุนทางการเงินที่ลดลงจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง เมื่อสามารถบรรลุผลตามตัวชี้วัดหรือเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งสำหรับไทยยูเนี่ยน ตัวชี้วัดดังกล่าวนั้น หมายรวมถึงการรักษาอันดับในดัชนีความยั่งยืน S&P Global Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) อย่างสม่ำเสมอ การบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของบริษัท และการเพิ่มการกำกับดูแลในห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศโดยการเพิ่มการใช้ระบบตรวจสอบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring: EM) และ/หรือผู้สังเกตการณ์ทางทะเลบนเรือประมงทูน่า1

1การตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิกส์ (EM) เป็นระบบตรวจสอบที่มุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมประมง เช่น การปรับปรุงสภาพการทำงานบนเรือประมง และการต่อสู้กับการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศทางทะเล และการคุ้มครองสิทธิแรงงาน โดยการจัดการกับ IUU Fishing นั้น เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ หรือ UN Sustainable Development Goal (SDG) เป้าหมายที่ 14 ชีวิตในน้ำ (Life Below Water)
ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวการจัดหาเงินทุนจากเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน ในปี 2564 ซึ่งมีมูลค่ารวม 800 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รายการจัดหาเงินทุน รายละเอียด
Sustainability-Linked Loan ครั้งที่ 1
  • เงินกู้ยืมส่งเสริมความยั่งยืน อายุ 5 ปี ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ออกเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564 ในประเทศไทย เป็นสกุลเงินไทยบาท มูลค่า 4,550 ล้านบาท และสกุลเงินเหรียญสหรัฐ มูลค่า 65 ล้านเหรียญ
  • เงินกู้ยืมส่งเสริมความยั่งยืน อายุ 5 ปี ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ออกเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 ในประเทศญี่ปุ่น เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐ 150 ล้านเหรียญ และสกุลเงินเยนญี่ปุ่น มูลค่า 3,400 ล้านเยน
Sustainability-Linked Bond ครั้งที่ 1
  • หุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน อายุ 7 ปี ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ออกเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ในประเทศไทย เป็นสกุลเงินไทยบาท มูลค่า 5,000 ล้านบาท
Sustainability-Linked Bond ครั้งที่ 2
  • หุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน อายุ 5 ปี ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ออกเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ในประเทศไทย เป็นสกุลเงินไทยบาท มูลค่า 4,500 ล้านบาท
  • หุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน อายุ 10 ปี ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ออกเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ในประเทศไทย เป็นสกุลเงินไทยบาท มูลค่า 1,500 ล้านบาท
Sustainability-Linked Loan ครั้งที่ 2
  • เงินกู้ยืมส่งเสริมความยั่งยืน อายุ 5 ปี ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ออกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ในประเทศญี่ปุ่น เป็นสกุลเงินเยนญี่ปุ่น มูลค่า 14,000 ล้านเยน

ด้วยความมุ่งมั่นของไทยยูเนี่ยนต่อการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ผ่านโปรแกรม SeaChange® แล้วนั้น กรอบการจัดหาเงินทุนที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนของบริษัทจึงสอดคล้องของกับวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนและกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อสนับสนุน ”Healthy Living, Healthy Oceans”

นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นว่าเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืนของบริษัท เป็นไปตามหลักการที่ประกาศโดยสมาคมตลาดทุนนานาชาติ (ICMA) หรือสมาคมการจัดการสินเชื่อ (LMA) อีกด้วย

Sustainalytics ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ชํานาญการอิสระเพื่อให้ความเห็น (Second Party Opinion: SPO) เกี่ยวกับตัวชี้วัดและความสอดคล้องของหลักในการกู้ยืมที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนของบริษัท โดยตัวชี้วัดที่กำหนดในแต่ละรายการจะได้รับการตรวจสอบโดยองค์กรภายนอกเพื่อให้การประเมินมีความยุติธรรมและเป็นไปโดยอิสระ

ด้วยความมุ่งมั่นของบริษัทในการปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และธรรมาภิบาล (ESG) ไทยยูเนี่ยนได้รับคัดเลือกให้รวมอยู่ในดัชนีความยั่งยืน DJSI กลุ่มตลาดเกิดใหม่ และติดอันดับ 10 บริษัทแรก ในดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารของ DJSI ด้วย ซึ่งเป็นตัวชี้วัดและเป้าหมายหลัก (KPIs/SPTs) ข้อที่ 1

ตัวชี้วัดและเป้าหมายหลัก (KPIs/SPTs) ข้อที่ 2 ได้แก่ การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทางตรง (Scope 1) และทางอ้อม (Scope 2) ที่มาจากการผลิตของบริษัท โดยมีเป้าหมายการลดลงร้อยละ 4 ต่อปี จากระดับพื้นฐานปี 2562 (วัดจากความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์) เพื่อเป็นการสะท้อนถึงความมุ่งเน้นในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ตัวชี้วัดและเป้าหมายหลัก (KPIs/SPTs) ข้อที่ 3 ได้แก่ การเพิ่มสัดส่วนการซื้อวัตถุดิบปลาทูน่าจากเรือประมงที่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิกส์ (EM) และ/หรือผู้สังเกตการณ์ทางทะเล จากระดับพื้นฐานที่ร้อยละ 71 ในปี 2564 ไปสู่ร้อยละ 100 ในปี 2568 ซึ่งวิธีการติดตามทั้งสองรูปแบบไม่ว่าจะด้วยระบบ EM หรือการใช้ผู้สังเกตการณ์ทางทะเลจะช่วยส่งเสริมการปฏิบัติงานของเราในการเฝ้าระวังห่วงโซ่อุปทานของปลาทูน่าที่จับจากธรรมชาติ

ความมุ่งมั่นและการดำเนินการของเรา

ตามเป้าหมายความยั่งยืนในการจัดหาเงินทุนที่เชื่อมโยงกับการอนุรักษ์มหาสมุทร

เป้าหมายและตัวชี้วัด 3 ข้อ สำหรับการทดสอบในช่วงระยะเวลาที่ได้รับการสนับสนุนทั้งเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืนของบริษัท

KPI1: ดัชนีความยั่งยืน DJSI กลุ่มตลาดเกิดใหม่ และกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร

พัฒนาการตามตัวชี้วัด ผลการดำเนินการ
ปี 2563
จากความมุ่งมั่นของไทยยูเนี่ยน ภายใต้โปรแกรม SeaChange® บริษัทถูกจัดให้อยู่ในดัชนีความยั่งยืน DJSI เป็นเวลา 7 ปี ติดต่อกัน โดยอยู่ในอันดับที่ 1 และ อันดับที่ 2 และยังคงอยู่ในอันดับสูงสุด 10 อันดับแรกของดัชนี DJSI กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
พ.ค. 2566
จากความมุ่งมั่นของไทยยูเนี่ยน ภายใต้โปรแกรม SeaChange® บริษัทถูกจัดให้อยู่ในดัชนีความยั่งยืน DJSI เป็นเวลา 9 ปี ติดต่อกัน สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร

KPI2: ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปริมาณสินค้าสำเร็จรูป

หมายเหตุ: ปัจจัยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (Thailand Greenhouse Gas Management Organization : TGO) มีการเปลี่ยนแปลงในเดือนมีนาคม 2564 ส่งผลให้ตัวเลขการปล่อย GHG สูงขึ้นร้อยละ 5 โดยเฉลี่ย
พัฒนาการตามตัวชี้วัด ผลการดำเนินการ
ไทยยูเนี่ยนประสบความสำเร็จในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 28 ในระหว่างปี 2559 - 2563 และจะลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนใน Scope 1 และ 2 ลงให้ได้ร้อยละ 4 ต่อปี พ.ค. 2566
ไทยยูเนี่ยนประสบความสำเร็จในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระดับ 0.61 t CO2 eq/ t FG

KPI3: ร้อยละของเรือประมงทูน่าที่ติดตั้งระบบตรวจสอบอิเล็กทรอนิกส์ (EM) และ/หรือผู้สังเกตการณ์ทางทะเลบนเรือ

พัฒนาการตามตัวชี้วัด ผลการดำเนินการ
เพื่อเพิ่มสัดส่วนการซื้อวัตถุดิบปลาทูน่าจากเรือประมงที่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิกส์ (EM) และ/หรือผู้สังเกตการณ์ทางทะเล เราได้มีการแก้ไขตัวชี้วัดในปี 2566 สำหรับ SLL#1 (onshore) และ SLL#2 รวมถึงมีการปรับระดับพื้นฐานจากตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ตัวชี้วัดนี้เป็นความคิดริเริ่มใหม่ในการพัฒนาด้านความยั่งยืนและการตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) ในการจัดหาวัตถุดิบปลาทูน่า ไทยยูเนี่ยนซื้อวัตถุดิบปลาทูน่าจากเรือประมงที่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิกส์ (EM) และ/หรือผู้สังเกตการณ์ทางทะเลในอัตราร้อยละ 71 ในปี 2564 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 79 ในปี 2565

ไทยยูเนี่ยนมีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนการจัดหาเงินทุนแบบดั้งเดิมเป็นรูปแบบ Blue Finance ให้ได้ ร้อยละ 50 ของการจัดหาเงินทุนระยะยาวทั้งหมด ภายในปี 2565 และตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนเป็นร้อยละ 75 ภายในปี 2568

เป้าหมายการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืน

สำหรับเงินทุนระยะยาว (1.4 พันล้านบาทหรือ 45 พันล้านเหรียญสหรัฐ)

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืน ไทยยูเนี่ยนได้ออกเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืนในปี 2564 ซึ่งมีมูลค่ารวม 800 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีรายละเอียดกำหนดระยะเวลาการทดสอบเป้าหมายของการจัดหาเงินทุนแต่ละรายการ ตามข้อมูลดังต่อไปนี้

สำหรับตราสารใดๆ ที่ออกภายใต้กรอบการจัดหาเงินทุนนี้ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการทดสอบแล้ว การปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการจ่ายดอกเบี้ยจะดำเนินการในการจ่ายดอกเบี้ยในงวดถัดไป จนกว่าจะถึงช่วงการทดสอบและรอบการปรับดอกเบี้ยถัดไป

ปีปฏิทิน วันที่ออก วันครบกำหนด 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569 2570 2571 2572 2573 2574
Sustainability
Linked Loan ครั้งที่ 1
ม.ค.
2564
ม.ค.
2568
ช่วง
ทดสอบ
ช่วง
ทดสอบ
ช่วง
ทดสอบ
ช่วง
ทดสอบ
ช่วง
ทดสอบ
- - - - - - -
Sustainability
Linked Bond ครั้งที่ 1
ก.ค.
2564
ก.ค.
2571
- ไม่มี ไม่มี ช่วง
ทดสอบ**
ไม่มี ไม่มี ช่วง
ทดสอบ
ไม่มี ไม่มี - - -
Sustainability
Linked Bond ครั้งที่ 2
(อายุ 5 ปี)
พ.ย.
2564
พ.ย.
2569
- ไม่มี ไม่มี ช่วง
ทดสอบ**
ไม่มี ไม่มี ไม่มี - - - - -
Sustainability
Linked Bond ครั้งที่ 2
(อายุ 10 ปี)
พ.ย.
2564
พ.ย.
2574
- ไม่มี ไม่มี ช่วง
ทดสอบ**
ไม่มี ไม่มี ช่วง
ทดสอบ
ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
Sustainability
Linked Loan ครั้งที่ 2
ธ.ค.
2564
ธ.ค.
2569
- ช่วง
ทดสอบ
ช่วง
ทดสอบ
ช่วง
ทดสอบ
ช่วง
ทดสอบ
ช่วง
ทดสอบ
- - - - - -
กำหนดการประกาศผลการทดสอบ พ.ค.
2564
พ.ค.
2565
พ.ค.
2566
พ.ค.
2567
พ.ค.
2568
พ.ค.
2569
พ.ค.
2570
พ.ค.
2571
พ.ค.
2572
พ.ค.
2573
พ.ค.
2574
พ.ค.
2575
หมายเหตุ:** SPTs จะถูกทดสอบสำหรับช่วงการทดสอบนี้ และจะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยของตราสารจนกว่าจะถึงช่วงการทดสอบในรอบต่อไป

Please read our General Disclaimer & Warning carefully.
Use of this Website constitutes acceptance of the Terms of Website Use.
Copyright © 2024. ThaiListedCompany.com. All Rights Reserved.