ปัจจัยความเสี่ยง

ความเสี่ยงทางกลยุทธ์

โรคระบาดทั่วโลก
คำอธิบายและผลกระทบ การบริหารจัดการความเสี่ยง

ในปี 2563 "โควิด 19" วิกฤตด้านสุขภาพ และเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้ ยังคงขยายวงกว้างและสร้างความกังวล ด้านสุขภาพและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจให้กับผู้คนในธุรกิจทุกภาคส่วน อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

สำหรับไทยยูเนี่ยนบริษัทระดับโลก ซึ่งมีโรงงานผลิต สำนักงาน ลูกค้า และผู้บริโภคทั่วโลก ก็ไม่ได้รับการยกเว้นจากวิกฤตนี้ โรคระบาดทั่วโลกในครั้งนี้นำไปสู่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปอย่างมาก มีความเสี่ยงที่สำคัญหลายประการดังต่อไปนี้เกิดขึ้น

  • ความเสี่ยงต่อสุขภาพของพนักงาน
  • ความเสี่ยงต่อการผลิตและการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน
  • ความเสี่ยงต่อผลประกอบการทางธุรกิจและความเสี่ยงทางการเงิน เช่น สินเชื่อลูกค้า อัตราแลกเปลี่ยน และสภาพคล่อง
  • ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับความสามารถในการตอบสนองต่อมาตรการด้านสาธารณสุขในแต่ละประเทศ แต่ละรัฐ แต่ละเมือง
  • ความเสี่ยงที่ต่อความมั่นใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในความสามารถของบริษัทที่จะตอบสนองต่อความท้าทายอย่างมีประสิทธิภาพ

ในอีกมุมหนึ่งโควิด 19 ไม่ได้นำความเสี่ยง แต่ได้นำโอกาสแก่บริษัท เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ต่อการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพซึ่งเป็นผลดีต่อผลประกอบการบริษัท และเปิดให้บริษัทมีโอกาสส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชุมชนที่บริษัทดำเนินงานอยู่

เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่เกิดโรคระบาด บริษัทได้ริเริ่มมาตรการและทีมบริหารภาวะวิกฤต (Crisis Management Teams: CMTs) ทั้งในระดับกลุ่มบริษัทและระดับบริษัทย่อยในแต่ละประเทศ

บริษัทให้ความสำคัญยิ่งต่อสุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และชุมชนท้องถิ่น บริษัทปฏิบัติตามมาตรการที่รัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่นกำหนดอย่างเคร่งครัด รวมทั้งออกมาตรการความปลอดภัยที่ครอบคลุมทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน และนอกสถานที่ทำงาน เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าพื้นที่ และการจำกัดผู้มาติดต่อการติดตั้งจุดล้างมือและจุดบริการแอลกอฮอล์ที่ทางเข้าและพื้นที่ส่วนกลาง จัดระเบียบพื้นที่การทำงานและพื้นที่ส่วนกลางใหม่เพื่อให้มีการรักษาระยะห่างและการป้องกันอย่างเพียงพอ จัดให้มีการทำงานจากบ้านและการสลับกลุ่มเข้าพื้นที่ทำงานมากเท่าที่จะเป็นไปได้

นอกจากนี้ ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2563 ที่มีการระบาดรอบใหม่กระจายตัวอย่างรวดเร็วในจังหวัดสมุทรสาครจนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 บริษัทได้ทำการตรวจหาเชื้อพนักงานทุกคนที่ทำงานในจังหวัดสมุทรสาคร 2 ครั้ง บริษัทมีมาตรการที่รัดกุมเพื่อดูแลผู้ติดเชื้อตามแนวทางปฏิบัติของรัฐบาล ระบุและตรวจหาเชื้อผู้มีความเสี่ยงที่อยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อและทำความสะอาดฆ่าเชื้อบริเวณที่มีผู้มาติดต่ออย่างละเอียด นอกจากนี้ บางโรงงานของบริษัทอยู่ในโครงการ "seal & bubble" ตามข้อกำหนดของรัฐบาล

ในส่วนของการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน นอกจากมาตรการตามที่ได้กล่าวข้างต้น โรงงานทั้งหมดของบริษัทมีแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาด ซึ่งมีการปรับปรุงข้อมูลตามสถานการณ์แผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การเพิ่มการผลิตสินค้า และการสำรองวัสดุจำเป็นต่อการผลิตพิจารณาสถานะคู่ค้าของบริษัท และวางแผนจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านคู่ค้า เช่น หลีกเลี่ยงการพึ่งพิงคู่ค้าเพียงรายเดียว และพัฒนาแผนทางเลือกโรงงานผลิตสำรอง หากมีโรงงานต้องหยุดการผลิตเป็นการชั่วคราว ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 โรงงานทั้งหมดของไทยยูเนี่ยนยังคงเปิดดำเนินการ มีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อกำลังการผลิตแต่การส่งสินค้าได้ตามกำหนด

ในส่วนของผลการดำเนินงานและความเสี่ยงทางการเงิน บริษัทจัดทำการทดสอบภาวะวิกฤตของกลุ่มบริษัทในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้เข้าใจ ความเป็นไปได้และผลกระทบทางธุรกิจพร้อมทั้งเตรียมแผนบริหารจัดการวิกฤตเหล่านั้นไว้ล่วงหน้าเพื่อให้มั่นใจในความต่อเนื่องทางธุรกิจ มาตรการเหล่านี้มุ่งเน้นการคงกำไรสุทธิ รักษาสภาพคล่อง และการรักษาสถานะทางการเงินที่สำคัญตามพันธะสัญญาที่เกี่ยวข้อง มาตรการต่างๆ ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ แผนปกป้องเงินสด การเฝ้าระวังและให้สินเชื่อลูกค้า และการรักษาระดับสินค้าคงคลังให้เหมาะสม

โดยรวม ผลประกอบการของบริษัทอยู่ในเกณฑ์ดี รายได้จากผลิตภัณฑ์อาหารทะเลประเภทแช่เยือกแข็งและแช่เย็นลดลงเล็กน้อยเนื่องจากอุปสงค์ จากธุรกิจบริการด้านอาหารได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ และการบริโภคในร้านอาหารลดลง ในทางกลับกันผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปและผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงเติบโตขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคประกอบอาหารเองที่บ้านมากขึ้นและมองหาผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต่อสุขภาพและราคา เหมาะสม การเติบโตนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการจัดการห่วงโซ่อุปทาน อย่างมีประสิทธิภาพของบริษัทที่ทันต่อการเติบโตของอุปสงค์

จากกลยุทธ์ SeaChange® และพันธกิจของบริษัทในการช่วยเหลือชุมชนที่เรามีการดำเนินงานอยู่ และให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 2 เรื่องการขจัดความหิวโหย และเป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ บริษัทได้บริจาคผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเพื่อช่วยผู้ได้รับผลกระทบ และส่งมอบให้กับทางการและบุคลากรที่มีส่วนช่วยในการต่อสู้กับโรคระบาดในครั้งนี้ในหลายประเทศทั่วโลก

องค์ประกอบกลยุทธ์ของไทยยูเนี่ยนที่แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงมุ่งจะทำให้สำเร็จ
การบริหารจัดการความเสี่ยงช่วยสนับสนุนการพัฒนา ESG
คำอธิบายและผลกระทบ การบริหารจัดการความเสี่ยง

รายได้ของบริษัทสัมพันธ์กับอุปสงค์ของโลกและความต้องการของลูกค้าที่ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งของการที่บริษัทจะบรรลุตามเป้าหมายทางธุรกิจ ขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และทำการตลาดได้ตามความคาดหวังของลูกค้า ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้แก่

  • พฤติกรรมผู้บริโภคซึ่งเปลี่ยนไปเน้นที่การซื้อของออนไลน์และการส่งสินค้าถึงที่มากขึ้น (bring in service) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิด 19
  • การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนประชากร ซึ่งอาจนำไปสู่ลักษณะความชอบในผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนไป
  • แนวโน้มที่ผู้บริโภคหันมาสนใจอาหารเพื่อสุขภาพและสร้างความยั่งยืนทั่วโลก

บริษัทต้องสามารถตีโจทย์การเปลี่ยนแปลงและสร้างการพัฒนาที่ตอบโจทย์ได้อย่างถูกต้อง การไม่สามารถคิดค้นนวัตกรรมหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตอาหารทะเลของบริษัทได้ หรือไม่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องอาจกระทบศักยภาพในการแข่งขันและผลการดำเนินงานของบริษัท

ในการบริหารความเสี่ยงและสร้างโอกาสทางธุรกิจในด้านนี้ บริษัทมีการกำกับดูแลและขั้นตอนที่ตอบสนองได้ทันต่อทิศทางของตลาด มีการทบทวน แผนเชิงกลยุทธ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีการทบทวนการจัดการความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์และริเริ่มโครงการเชิงกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อทำประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นและจำกัดความเสี่ยง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการลงทุนหลายโครงการเพื่อส่งเสริมด้านนวัตกรรม เชิงการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น

  • การยกระดับการวิจัยและพัฒนาของบริษัทอย่างต่อเนื่องผ่านศูนย์นวัตกรรม Global Innovation Center ของเรา เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนโลกธุรกิจที่ตอบโจทย์ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและก่อให้เกิดความยั่งยืน
  • การลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพผ่านกองทุน Corporate Venture เพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีหลายโครงการเกิดขึ้นในปี 2563 เช่น การลงทุนในบริษัทนวัตกรรมอาหารสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน การลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีกำจัดแมลง และการลงทุนในบริษัทอี-คอมเมิร์ซ การลงทุนในบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพด้านการผลิตโปรตีนอาหารทะเลจากเซลล์เพาะเลี้ยง
  • บริษัทได้ตั้งบริษัทร่วมทุน "อินเตอร์ฟาร์มา-ซีวิต้า จำกัด" เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี
  • บริษัทได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ส่วนผสมจากอาหารทะเลที่ดีต่อสุขภาพและสร้างความยั่งยืน อาทิ ผลิตภัณฑ์ผงแคลเซียมจากกระดูกปลาทูน่า "UniQTMBONE" ผลิตภัณฑ์ ZEAvita แคลเซียมรูปแคปซูล ผลิตภัณฑ์ซุปปลาทูน่าสกัดเข้มข้น ZEAvita - ZEAessen Boost และผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาทูน่า ZEAvita - tuna oil
องค์ประกอบกลยุทธ์ของไทยยูเนี่ยนที่แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงมุ่งจะทำให้สำเร็จ
การบริหารจัดการความเสี่ยงช่วยสนับสนุนการพัฒนา ESG
คำอธิบายและผลกระทบ การบริหารจัดการความเสี่ยง

สภาพภูมิอากาศทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ภาวะสภาพอากาศย่ำแย่รุนแรงลงไปอีก ในปี 2562 และปี 2563 มหาสมุทรของโลกทำสถิติเป็นปีที่มี อุณหภูมิสูงที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและฉับพลันต่อท้องทะเลสัตว์ทะเลและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งเป็นปัจจัยที่เราพึ่งพาอาศัย

ภัยธรรมชาติและสภาพอากาศที่รุนแรง ซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วยภัยน้ำท่วม ภัยแล้ง และสึนามิ รวมถึงน้ำในมหาสมุทร มีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีสภาพเป็นกรด ซึ่งอาจกระทบต่อการผลิต การจัดหาวัตถุดิบ และทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท

ไทยยูเนี่ยนดำเนินงานด้วยความยึดมั่นในการให้เกียรติทุกฝ่ายและความรับผิดชอบ โดยแสดงถึงความห่วงใยที่มีต่อพนักงาน ผ่านการดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบ บริษัทมีโครงการริเริ่มหลายโครงการที่ช่วยลดการใช้น้ำ ลดปริมาณขยะฝังกลบ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และติดตามความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการจัดการความเสี่ยงเรื่องน้ำ บริษัทต้องการให้ทุกคนที่ทำงานที่ไทยยูเนี่ยนมีส่วนร่วมในการผลักดัน ให้บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย บริษัทมองว่าการดูแลความปลอดภัยและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคน

ขณะนี้บริษัทอยู่ในกระบวนการตั้งเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมปี 2568 และการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามฐานวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets: SBT) นอกจากนี้ บริษัทยังตั้งเป้าเพิ่มการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการจะบรรลุตามเป้าหมายนี้ บริษัทได้ดำเนินการหลายโครงการดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้ผลิตอาหารรายแรกและเป็นบริษัทจดทะเบียนไทยที่เข้าร่วมโครงการ EP100 ในส่วนของโปรแกรม Cooling Challenge ซึ่งเป็นโครงการทั่วโลกขององค์กร Climate Group ที่มุ่งผลักดันการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ดำเนินโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการพลังงานไฟฟ้า แสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ที่โรงงานและบนหลังคาของโรงงาน การรีไซเคิลและการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตของบริษัท การนำปุ๋ยซึ่งทำจากกากน้ำทิ้งมาใช้ปลูกต้นไม้ และการรีไซเคิลพลาสติกที่มีสิ่งปนเปื้อนแทนการฝังกลบ
องค์ประกอบกลยุทธ์ของไทยยูเนี่ยนที่แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงมุ่งจะทำให้สำเร็จ
การบริหารจัดการความเสี่ยงช่วยสนับสนุนการพัฒนา ESG

ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน

คำอธิบายและผลกระทบ การบริหารจัดการความเสี่ยง

ราคาวัตถุดิบที่สำคัญของบริษัท เช่น ปลาทูน่าและกุ้งเปรียบเสมือนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ไม่มีเครื่องมือบริหารความเสี่ยงโดยตรง และราคามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว

กลยุทธ์การจัดหาวัตถุดิบอาหารทะเลของบริษัทเน้นที่การสร้างความสมดุลระหว่างปริมาณวัตถุดิบและความผันผวนของราคา รวมถึงการจัดหาวัตถุดิบที่ยั่งยืนได้อย่างต่อเนื่องจากซัพพลายเออร์ที่เชื่อถือได้

ปลาทูน่า

ในปี 2563 ตลาดปลาทูน่าหลายสายพันธุ์ทั่วโลกยังคงประสบกับความท้าทายด้านราคาและอุปทานที่ผันผวน นอกจากนี้ ยังประสบกับความผันผวนในอุปสงค์และข้อจำกัดด้านการขนส่งอันเป็นผล มาจากการระบาดของโควิด 19

ราคาปลาทูน่าพันธุ์ท้องแถบ (Skipjack) เริ่มต้นปีในระดับต่ำแต่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องมาจนถึงเดือนเมษายน เนื่องจากการประมงที่ลดลงประกอบกับอุปสงค์ที่ขยายตัวอันเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรค ราคาปรับลดลงในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมเนื่องจากมีการประมง เพิ่มขึ้นประกอบกับอุปสงค์ชะลอตัวลง ตลาดปรับตัวขึ้นอีกครั้งในเดือนสิงหาคมและไปแตะจุดสูงสุดของปีในเดือนกันยายน เนื่องจากการประมงและอุปทานที่ลดลง ในช่วงที่มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ห้ามเรือประมงจับปลาด้วยเครื่องมือ ล่อปลา ในช่วงไตรมาสที่ 4 ตลาดปรับลงอีกครั้งเนื่องจากการประมงที่เพิ่มขึ้น แต่อุปสงค์อ่อนตัวลงจากธุรกิจบริการด้านอาหารจากการระบาดของโรคโควิด 19

ราคาของปลาทูน่าพันธุ์ครีบเหลือง (Yellowfin) และพันธุ์ครีบยาว (Albacore) ยังคงอยู่ในระดับสูงในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ในขณะที่อุปทานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาของปลาทูน่าทั้งสองสายพันธุ์ปรับลดลงและทรงตัวใน 3 ไตรมาสที่เหลือของปี

ปลาทูน่า

บริษัทมีหน่วยงานจัดซื้อปลาระดับกลุ่มบริษัท ซึ่งประกอบไปด้วย ทีมผู้เชี่ยวชาญโดยเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบเชิงกลยุทธ์และยกระดับการจัดการห่วงโซ่อุปทานของปลา จากการรวมศูนย์การจัดซื้อ ทำให้บริษัทสามารถใช้ศักยภาพระดับโลกและมีความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม

ในระดับปฏิบัติการ ทีมจัดซื้อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการความท้าทายในด้านราคาวัตถุดิบและอุปทาน ที่บริษัทต้องเผชิญในการทำธุรกิจ การบริหารจัดการดังกล่าว ได้เพิ่มการสื่อสารและให้ข้อมูลที่โปร่งใส ตลอดห่วงโซ่อุปทานของโรงงานผลิตทุกโรงงานของไทยยูเนี่ยน

กุ้ง

โดยรวมราคาวัตถุดิบกุ้งไทยในปี 2563 สูงกว่าปี 2562 เนื่องจากอุปทานมีอยู่จำกัด ทั้งนี้เป็นเพราะผู้เลี้ยงกุ้งท้องถิ่นเผชิญกับการยับยั้งการระบาดของโรค (โรคขี้ขาว โรคตัวแดงดวงขาว โรคอีเอชพี และอื่นๆ) และภาพรวมตลาดที่ไม่สดใส ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งชะลอการเลี้ยงและการเก็บเกี่ยวผลผลิตกุ้ง การระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจบริการด้านอาหารในตลาดส่งออกหลักและตลาดในประเทศเนื่องจากการล็อกดาวน์และข้อปฏิบัติเรื่องการเว้นระยะห่าง

นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับประเทศ ผู้ส่งออกกุ้งหลักประเทศอื่นเป็นปัจจัยเสี่ยงและยิ่งทำให้ภาพรวมการส่งออกในปี 2563 ตกต่ำลงเมื่อราคาวัตถุดิบในรูปสกุลเงินดอลลาร์สูงขึ้นบริษัทผลิตภัณฑ์แปรรูป และผู้ส่งออกต้องเผชิญกับแรงกดดันทั้งต้นทุนและด้านราคาขายที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันและทำกำไร

บริษัทจัดจำหน่ายอาหารแช่เยือกแข็ง ในสหรัฐอเมริกาของเรา (บริษัท ไทร-ยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์) ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบที่เกิดจากระดับอุปสงค์และอุปทานไม่สมดุลกัน ในประเทศผู้ผลิตหลัก และต้นทุนสินค้า คงคลังของบริษัท แต่ทั้งนี้ บริษัท ได้ลดความเสี่ยงเหล่านี้ด้วยการพัฒนา และกระจายฐานคู่ค้าและลูกค้าให้มีความหลากหลายและลดการกระจุกตัว

กุ้ง

เพื่อสร้างความแตกต่างในการแข่งขันลดแรงกดดันด้านต้นทุนและสร้างความสามารถในการทำกำไร บริษัทลงทุนในกระบวนการผลิตและเครื่องมือในการผลิตใหม่ๆ เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐาน และความต้องการที่ลูกค้าต้องการ พร้อมทั้งสามารถได้การรับรองตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์จากนวัตกรรมของบริษัทและริเริ่มโครงการด้านความยั่งยืนระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ บริษัทมีการจัดหาวัตถุดิบเชิงกลยุทธ์ (โดยคำนึงถึงช่วงเวลาซื้อ และปริมาณซื้อ) โดยวิเคราะห์จากองค์ความรู้ภายในองค์กร และความเข้าใจในเรื่องความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานภายในประเทศไทย ซึ่งช่วยทำให้ราคาของบริษัทแข่งขันได้

บริษัทยังได้ดำเนินโครงการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพิงแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และรักษามาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทซึ่งมีผลต่อต้นทุนผลิตภัณฑ์ของบริษัท

เพื่อลดการพึ่งพิงบางตลาดมากเกินไป บริษัทกระจายความเสี่ยงด้วยการส่งออกสินค้าไปหลากหลายประเทศ เช่น ประเทศในกลุ่มอาเซียน นอกเหนือจากขายในประเทศไทย นอกจากนี้ บริษัทยังเป็นพันธมิตร กับลูกค้ารายใหญ่ด้วยการทำสัญญาการจัดหาวัตถุดิบให้บริษัทโดยเฉพาะสำหรับช่วงเวลาหนึ่งเพื่อให้ได้ราคาที่มีเสถียรภาพและได้ปริมาณเพียงพอในการทำธุรกิจ

ปลาแซลมอน

ราคาปลาแซลมอนน้ำหนัก 3 - 6 กิโลกรัม ในตลาดโลกเฉลี่ยทั้งปี 2563 อยู่ในระดับต่ำกว่าราคาในปี 2562 เนื่องจากโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบทั่วโลก และการปิดภาคบริการอาหารทำให้อุปสงค์ลดลง ในด้านอุปทาน มีการขาดตลาดเล็กน้อยยกเว้นในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี 2563 วัตถุดิบขาดตลาดมีสาเหตุจากประเทศสกอตแลนด์ อันเป็นผลมาจากการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit)

ปลาแซลมอน

เราดำเนินงานตามกลยุทธ์ของเราซึ่งทำให้เราสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วด้วยการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงและรักษาความยืดหยุ่นให้เหมาะสม

ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทใช้เครื่องมือติดตามปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทาน และปรับกลยุทธ์ของบริษัทหากจำเป็น

องค์ประกอบกลยุทธ์ของไทยยูเนี่ยนที่แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงมุ่งจะทำให้สำเร็จ
การบริหารจัดการความเสี่ยงช่วยสนับสนุนการพัฒนา ESG
คำอธิบายและผลกระทบ การบริหารจัดการความเสี่ยง

บริษัทอาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้นในโรงงานผลิตได้ในรูปแบบต่างๆ นับตั้งแต่การจัดการวัตถุดิบอาหารทะเลไปจนถึงกระบวนการแปรรูปและการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป ความเสี่ยงอาจเกี่ยวข้องกับด้านต่างๆ เช่น อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน ภัยพิบัติต่อโรงงาน คุณภาพอาหาร การควบคุมต้นทุน การจัดการสินค้าคงคลัง ความเสี่ยงเหล่านี้อาจส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการผลิต เป้ายอดขาย และเป้าหมาย ของบริษัท

บริษัทมุ่งเน้นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ความปลอดภัยที่โรงงาน
  • ต้นทุนการผลิต
  • ความปลอดภัยของอาหาร
  • คุณภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนขึ้นของผู้บริโภคทั้งในด้านคุณภาพและความต้องการทางโภชนาการ

ไทยยูเนี่ยน ให้ความสำคัญกับความเป็นเลิศในการดำเนินงานและตระหนักดี ถึงความสำคัญของการมีวินัยในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ในด้านความเสี่ยงด้านความปลอดภัย บริษัทได้ทำการประเมินความเสี่ยง ในแต่ละโรงงานผลิตเนื่องจากรูปแบบความเสี่ยงมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ (ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากมนุษย์หรือภัยธรรมชาติ) นอกจากนี้ บริษัทมีการประเมินมาตรฐานด้านความปลอดภัยของเรา อยู่ตลอดเวลาเพื่อปิดช่องโหว่ เราได้ดำเนินโครงการเชิงวิศวกรรม การจัดการความเสี่ยงและการจำกัดความเสี่ยง ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาแผนแม่บท ซึ่งรวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ได้มาตรฐาน และการลงทุนที่จำเป็น โดยเฉพาะโครงการลดความเสี่ยงการเกิดอัคคีภัยและแอมโมเนียรั่วไหล

นอกจากนี้ บริษัทมีการพิจารณาอย่างรัดกุมในการลงทุนโครงการใหม่และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเรื่องของแบบโรงงาน การก่อสร้าง อุปกรณ์ เครื่องจักร และอื่นๆ ที่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (SHE) ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการพิจารณาตามกรอบด้าน SHE ก่อนจะมีการอนุมัติการลงทุน

ด้านต้นทุนความสามารถในการผลิต บริษัทมีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของทั้งกลุ่มบริษัทโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการลงทุน เช่น การใช้ระบบอัตโนมัติ การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้แรงงานให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มสัดส่วนของการผลิต "ที่ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก"

ด้านความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ บริษัทมีระบบบริหารจัดการคุณภาพที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของอาหาร คุณภาพสินค้าเป็นไปตามมาตรฐาน และสร้างคุณค่า ให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้ ระบบการจัดการคุณภาพภายในได้รับการตรวจสอบ และรับรองจากหน่วยงานรับรองอิสระ เพื่อให้เป็นตามมาตรฐานภายในขององค์กร รวมถึงเป็นไปตามมาตรฐานสากล กฎหมายและข้อบังคับตามแนวทางของหน่วยงานกำกับดูแล บริษัทได้รับการรับรองด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารจากหลายหน่วยงาน อาทิ ISO9001, ISO14001, TIS18001, BRC, BAP, GMP, HACCP, Halal, Kosher

องค์ประกอบกลยุทธ์ของไทยยูเนี่ยนที่แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงมุ่งจะทำให้สำเร็จ
การบริหารจัดการความเสี่ยงช่วยสนับสนุนการพัฒนา ESG
คำอธิบายและผลกระทบ การบริหารจัดการความเสี่ยง

รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วได้รับแรงผลักดันมาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น การแพร่ระบาดของโควิด 19 ผลักดันให้ธุรกิจของบริษัทต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและการประสานงานร่วมกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลในด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ เนื่องจากการคุกคามมีความซับซ้อนและเพิ่มช่องทางในการจู่โจมมากยิ่งขึ้น

ความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์สามารถปรากฏให้เห็นได้ในรูปแบบของการทำให้โครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์ที่สำคัญทำงานไม่ได้ที่อันตรายยิ่งกว่านั้นคือ การลักลอบเข้าใช้งานหรือการใช้ข้อมูลในทางที่ผิดอาจสร้างความเสียหายต่อข้อมูลที่มีความอ่อนไหวและข้อมูลลับ ความเสี่ยงนี้อาจส่งผลทางการเงินซึ่งทำให้เราไม่สามารถส่งมอบได้ตามรายการสั่งซื้อของลูกค้า หรืออาจก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การเสียค่าปรับและการรับโทษจากหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงและส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท

บริษัทได้ทบทวนระบบรักษาความปลอดภัยองค์รวมในทุกระดับ ตั้งแต่การกำกับดูแล โครงสร้าง นโยบาย เทคโนโลยี ไปจนกระทั่งถึงบุคลากร และกระบวนการต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ ฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศที่รับผิดชอบในการดูแลนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทได้วางมาตรการต่างๆ ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเข้มงวดกับทุกหน่วยธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อปกป้องทรัพย์สินของบริษัทและข้อมูลส่วนบุคคล

ในปี 2563 บริษัทได้ดำเนินการหลายขั้นตอนเพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ได้แก่

  • บริษัทประเมินการรักษาความปลอดภัยระบบ SAP ที่รันซอฟต์แวร์ ERP เพื่อทบทวนและแก้ไขการให้สิทธิ์การใช้งานกับผู้ใช้งาน
  • บริษัทใช้ "Infosec security monitoring" ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มและการประมวลผลระดับโลก เพื่อติดตามการแจ้งเตือนด้านความปลอดภัยและแจ้งเตือนเหตุเพื่อให้แผนกไอทีสามารถ แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
  • บริษัทเพิ่มการรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดให้มีการรักษาความปลอดภัยด้วยการใส่รหัสการใช้ระบบการยืนยันตัวตนสองขั้นตอนสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ของบริษัททุกคน
  • บริษัทติดตั้งโซลูชั่นการกรองอีเมลขั้นสูงเพื่อป้องกันอีเมลที่ไม่พึงประสงค์
  • บริษัทติดตั้งระบบป้องกันการสร้างความเสียหายให้กับแบรนด์ โดยป้องกันผู้เกี่ยวข้องจากการล่อลวงด้วยวิธีฟิชชิ่งโดยใช้โดเมนคล้ายคลึงกับ Thaiunion.com
  • บริษัทได้เตรียมแผนฟื้นฟูความเสียหายสำหรับแอปพลิเคชันที่สำคัญของบริษัท
  • บริษัทมุ่งสร้างความตระหนักรู้ในด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้กับผู้ใช้งานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านการฝึกอบรม การโรดโชว์ และการสื่อสารจากผู้บริหารถึงระดับปฏิบัติการในเรื่องความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยในบริษัท
องค์ประกอบกลยุทธ์ของไทยยูเนี่ยนที่แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงมุ่งจะทำให้สำเร็จ
การบริหารจัดการความเสี่ยงช่วยสนับสนุนการพัฒนา ESG

ความเสี่ยงทางการเงิน

คำอธิบายและผลกระทบ การบริหารจัดการความเสี่ยง

จากการที่บริษัทดำเนินกิจการในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงด้านการเงินในหลายรูปแบบซึ่งมาจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย สภาพคล่อง ลูกหนี้การค้า ความเสี่ยงของคู่ค้า การลงทุน และเงินกู้ต่างๆ

ทั้งนี้ ความเสี่ยงหลักของบริษัท ได้แก่

  1. ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากธุรกรรมการค้า การระดมทุน / การลงทุน การลงทุนสุทธิในบริษัทย่อยในต่างประเทศ รวมถึงการซื้อวัตถุดิบในสกุลเงินต่างประเทศ
  2. ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยจากการกู้ยืม
  3. ความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อในธุรกรรมทางการเงินและธุรกรรมการค้า

ในปี 2563 มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ ทั้งการระบาดของโควิด 19 ความคืบหน้าของ Brexit ความตึงเครียดทางการค้า ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทยและการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์เหล่านี้สร้างความเสี่ยงทางการเงิน โดยมีผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง

โควิด 19 มีอิทธิพลต่อค่าสกุลเงิน เมื่อประเทศต่างๆ เริ่มได้รับผลกระทบจากโควิด 19 จากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตามความคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ โรคระบาดยังส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงทางการเงินหลักอื่นๆ เช่น ความเสี่ยง ด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน และความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง

Brexit เป็นปัจจัยที่ทำให้ค่าสกุลเงินผันผวนด้วยเช่นกันสำหรับค่าสกุลเงินปอนด์เทียบกับยูโรและดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการนำเข้าและการตั้งราคาสินค้าของแบรนด์ JOHN WEST และผลจากการแปลงค่าเงิน

นโยบายการคลังและนโยบายการเงิน รวมถึงนโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราแลกเปลี่ยน และทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ที่บริษัทมีธุรกิจอยู่ อาทิ สกุลเงินยูโร เยน ปอนด์อังกฤษ และเงินบาท

แม้จะมีโรคระบาดโควิด 19 และตามมา ด้วยวิกฤตการณ์ทางการเงิน หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับการหาแนวทางรองรับการยุติการใช้ดอกเบี้ยอ้างอิง LIBOR (London Inter-Bank Offered Rate) และดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ (ร่วมกับ LIBOR หรือที่เรียกว่า 'IBORs')

แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนอยู่หลายประการ แต่แนวทางการรองรับนี้คาดว่าน่าจะเกือบเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นปี 2564 เพื่อให้งบการเงินสะท้อนผลจากการปฏิรูป IBOR ให้ได้มากที่สุด

การบริหารความเสี่ยงระดับกลุ่มของบริษัทให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังความไม่แน่นอนของตลาดการเงินและการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลประกอบการของบริษัท โดยใช้เครื่องมือประเภทอนุพันธ์ทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงบางประการ ทั้งนี้เพื่อทำให้ผลการดำเนินงานในอนาคตมีเสถียรภาพ

นโยบายการบริหารความเสี่ยงทางการเงินอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารของบริษัท โดยนโยบายของกลุ่มบริษัทประกอบด้วยเรื่องความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ ความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ และความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน ซึ่งกลุ่มบริษัทได้กำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงดังต่อไปนี้

  1. ในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทมีนโยบายและกลยุทธ์ ดังนี้
    • บริษัทบริหารอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการค้า โดยการจัดสรรให้รายได้ และค่าใช้จ่ายเป็นสกุลเงินเดียวกัน และการบริหารความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือประเภทอนุพันธ์ทางการเงินตามความเหมาะสม บริษัทได้กำหนดนโยบายและอัตราส่วนของการป้องกันความเสี่ยงของแต่ละธุรกิจ เพื่อทำให้แต่ละธุรกิจสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิผล
    • บริษัทบริหารอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากธุรกรรมการกู้ยืมเงิน การปล่อยกู้หรือฝากเงินในสกุลเงินต่างประเทศ โดยทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน
    • สำหรับการลงทุนต่างประเทศในรูปของเงินทุนที่ผลตอบแทนอาจมาในรูปของการจ่ายปันผลหรือการลดทุน โดยการตัดสินใจเรื่องการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในการลงทุนเพื่อเข้าถือหุ้นของกิจการจะมาจากคณะกรรมการบริหารของบริษัท
  2. ในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย บริษัทใช้เครื่องมืออนุพันธ์ทางการเงิน เช่น สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้บรรลุอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ตั้งเป้าหมายไว้ทั้งแบบลอยตัวและคงที่
  3. ในการบริหารความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ บริษัทมีนโยบาย ขั้นตอน และการควบคุมให้ความเสี่ยงนี้อยู่ในระดับต่ำที่สุด โดยการทำประกันภัยสินเชื่อทางการค้าสำหรับลูกค้าส่วนใหญ่

นอกจากนี้ บริษัทได้เตรียมแผนระดมทุนหากเกิดเหตุจำเป็นและการติดตามลูกหนี้การค้า รวมถึงแผนการจำกัดความเสี่ยงลูกหนี้การค้า โดยการทำประกันลูกหนี้การค้าหรือการซื้อขายลูกหนี้การค้า ซึ่งส่วนงานนี้อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของทีมดูแลเงินสด เพื่อให้บริษัทสามารถติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดในช่วงที่เกิดโรคระบาดโควิด 19

บริษัทตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงของ IBORs ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยังดำเนินอยู่ โดยการเปลี่ยนแปลงจำกัดอยู่ที่ IBORs และอาจส่งผลต่อบริษัท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ใช้ในเครื่องมือการกู้ยืม สัญญาเช่า หุ้นกู้ อนุพันธ์ และการป้องกันความเสี่ยง ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงพิจารณาปรับเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงินและอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่นำมาใช้แทนไปในเวลาเดียวกัน รวมทั้งการนำ ISDA 2020 IBOR Fallbacks Protocol มาใช้กับสัญญาอนุพันธ์ที่มีอยู่

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านการเงินได้แสดงไว้ในหมายเหตุ 6 ในรายงานทางการเงิน หน้า 237 - 252

การบริหารจัดการความเสี่ยงช่วยสนับสนุนการพัฒนา ESG

ความเสี่ยงทางกฏหมายและการปฏิบัติตาม

คำอธิบายและผลกระทบ การบริหารจัดการความเสี่ยง

ธุรกิจของบริษัทต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายและกฎระเบียบในหลายประเทศที่บริษัทมีการดำเนินงานอยู่ รวมถึงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา ความรับผิดชอบต่อสินค้าการตลาด การป้องกันการผูกขาดทางการค้า การแข่งขันทางการค้า สิ่งแวดล้อม การจ้างงาน การต่อต้านการติดสินบนหรือต่อต้านการทุจริต การปกป้องข้อมูลและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเรื่องอื่นๆ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ กฎหมายเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือการปกป้องข้อมูลเริ่มมีผลบังคับใช้ ซึ่งรวมถึงเกือบทุกประเทศในทวีปยุโรปและหลายประเทศในละตินอเมริกา เอเชีย และแอฟริกา กฎหมายและกฎระเบียบที่สำคัญในหมวดนี้ได้แก่ GDPR (กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองที่อาศัยอยู่ในสหภาพยุโรป) และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สำหรับประเทศไทย ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากจะมีกฎหมายเดิมที่เกี่ยวข้องในด้านข้อมูลอยู่แล้ว ยังมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัยเพิ่มเติมในแต่ละรัฐ สำหรับไทยยูเนี่ยน บริษัทมีโรงงาน พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และผู้มาติดต่อทั่วโลก ซึ่งนับเป็นความท้าทายในด้านการจัดการและควบคุมเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การส่งข้อมูลระหว่างประเทศและพัฒนาการของอาชญากรรมไซเบอร์ได้เพิ่มความเสี่ยงเป็นทวีคูณ และจะมีมาตรการความปลอดภัยใหม่ออกมาเพื่อดูแลเรื่องเครือข่าย โครงสร้างพื้นฐานทาง อินเตอร์เน็ต การสร้างความรู้ความเข้าใจให้สาธารณะและกระบวนการทำงาน

การละเมิดกฎหมายหรือการไม่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายหรือกฎระเบียบรวมถึงการตีความที่เกี่ยวข้อง อาจจะนำไปสู่การถูกปรับเป็นมูลค่ามหาศาล ถูกลงโทษ และส่งผลเสียต่อผลการดำเนินงานและชื่อเสียงของบริษัท

บริษัทมีแผนกกฎหมายและการปฏิบัติตามกฎหมายที่ติดตามความเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ รวมทั้งแจ้งให้หน่วยงานที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายทราบถึงการดำเนินงานของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ

ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทเข้าใจและดำเนินการอย่างเหมาะสม บริษัทจึงได้จัดทำนโยบายแนวปฏิบัติที่จำเป็นและจัดอบรมให้กับพนักงาน ที่เกี่ยวข้องทราบถึงประเด็นที่สำคัญทั้งหมด บริษัทยังคงจัดอบรมและเพิ่มความตระหนักรู้ของพนักงานในเรื่องกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่บริษัทต้องปฏิบัติตาม รวมทั้งแจ้งให้ทราบถึงกฎหมายและกฎระเบียบ ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในอนาคต

ในส่วนของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการปกป้องข้อมูล บริษัททราบดีถึงพัฒนาการของกฎหมายทั่วโลกในด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัยของข้อมูล และจะปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบดังกล่าว โดยบริษัทได้ออกมาตรการหลายด้านเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานเป็นไปตามที่กฎหมายและกฎระเบียบได้กำหนดไว้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • บริษัทใช้กลยุทธ์ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบซึ่งครอบคลุมผนวกรวมทุกแง่มุม และรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลางเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัยของข้อมูล
  • บริษัทได้เตรียมผู้เชี่ยวชาญด้านกฎระเบียบเพื่อทำความเข้าใจรายละเอียดของกฎหมายและกฎระเบียบอย่างถ่องแท้
  • บริษัทได้ออกนโยบายด้านการปกป้องข้อมูลและขั้นตอนการดำเนินการ
  • บริษัทเก็บและประเมินข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัว
  • บริษัทได้เตรียมกลยุทธ์และแผนรับมือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

บริษัทมีความคืบหน้าในส่วนของคดีที่บริษัท ไทร-ยูเนี่ยน ซีฟู้ดส์ ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของบริษัทไทยยูเนี่ยน ถูกกล่าวหาในปี 2560 ว่าฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าของสหรัฐอเมริกาในตลาดทูน่า โดย ณ วันที่ 11 มกราคม 2564 บริษัทได้บรรลุข้อตกลงในหลักการเพื่อยุติคดีฟ้องร้องนี้

ขั้นตอนต่อจากนี้ คือเหลือเพียงการดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย เพื่อให้ศาลอนุมัติให้ยุติคดีตามข้อตกลงของคู่ความ โดยการยอมความตามข้อตกลงนี้จะมาสู่การสิ้นสุดคดีนี้ในสหรัฐอเมริกาที่มีต่อ บริษัท ไทร–ยูเนี่ยน ซีฟู๊ดส์ ส่งผลให้ความเสี่ยงของบริษัทในด้านที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีก่อน

งค์ประกอบกลยุทธ์ของไทยยูเนี่ยนที่แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงมุ่งจะทำให้สำเร็จ
การบริหารจัดการความเสี่ยงช่วยสนับสนุนการพัฒนา ESG