บทวิเคราะห์ธุรกิจประจำปี

ภาพรวม

ปี 2565 เป็นปีที่่เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับความท้าทายที่่คาดไม่ถึงหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อยับยั้งอัตราเงินเฟ้อ และผลกระทบจากโรคระบาดที่ยังคงยืดเยื้อ เช่นการปิดประเทศของประเทศจีนและการหยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะยังคงมีอยู่ในทุกตลาดที่่ไทยยูเนี่ยนดำเนินการ บริษัทฯ สามารถจำกัดผลกระทบดังกล่าวได้ผ่านการต่อรองราคากับลูกค้า ป้องกันความเสี่่ยงของวัตถุดิบหลักและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมถึงการจัดการสินค้าคงคลังที่่แข็งแกร่ง

จากการกระจายความเสี่ยงธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลประกอบการในปี 2565 ของบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สามารถรายงานยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่่ 155,586 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยได้แรงหนุนจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า และธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ในขณะที่ธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็นมีการเติบโตลดลงจากการปรับตัวสู่ภาวะปกติของธุรกิจร้านอาหารในตลาดสหรัฐอเมริกาหลังจากฟื้นตัวอย่างโดดเด่น หลังจาก COVID-19 นอกจากนี้้ ปริมาณขายโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน สาเหตุหลักมาจากผลประกอบการที่่แข็งแกร่งของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า และธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป

กำไรขั้นต้นในปี 2565 อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 27,206 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยไทยยูเนี่ยนยังคงสามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นให้อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 17.5 ซึ่งเป็นผลมาจากยอดขายที่่แข็งแกร่งดังได้กล่าวมาแล้ว รวมถึงกำไรขั้นต้นที่่เพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาวัตถุดิบและต้นทุนค่าขนส่งจะสูงขึ้นก็ตาม

ไทยยูเนี่ยนรายงานกำไรสุทธิในปี 2565 จำนวน 7,138 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากผลประกอบการที่โดดเด่นกว่าปกติในปีที่ผ่านมา ส่วนแบ่งขาดทุนจากธุรกิจ Red Lobster ที่เพิ่มขึ้น (ขาดทุน 1,207 ล้านบาท เทียบกับขาดทุน 178 ล้านบาท ในปี 2564) และผลกระทบจากรายการที่่ไม่ใช่เงินสดสองรายการที่่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ได้แก่ (1) การปรับมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิของ Red Lobster จำนวน 900 ล้านบาท (หลังหักภาษี) และ (2) ค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างที่่เกี่ยวข้องกับการปิดโรงงาน Rügen Fisch หนึ่งแห่ง จำนวน 195 ล้านบาท (หลังหักภาษี) อย่างไรก็ดี การลดลงถูกชดเชยบางส่วนด้วยผลการดำเนินงานที่่แข็งแกร่งในธุรกิจหลัก อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่่เอื้ออำนวย และเครดิตภาษีเงินได้ที่่เพิ่มขึ้น โดยอัตรากำไรสุทธิ (NPM) คิดเป็นร้อยละ 3.1 โดยถ้าไม่รวมรายการที่่ไม่ใช่เงินสด สองรายการจากเงินลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิของ Red Lobster และการปิดโรงงาน Rügen Fisch หนึ่งแห่ง กำไรสุทธิที่่ปรับปรุงแล้วจะอยู่ที่่ 8,233 ล้านบาท

กระแสเงินสดอิสระในปี 2565 เป็นบวกที่่ 1,792 ล้านบาท โดยสาเหตุหลักมาจากเงินทุนหมุนเวียนสุทธิที่ดีขึ้นอย่างมาก เนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งและระยะเวลาเดินเรือได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ใกล้เคียงกับระดับก่อนเกิด COVID-19 อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนของไทยยูเนี่ยน ณ สิ้นปี 2565 อยู่ที่ 0.54 เท่า ลดลงจาก 0.99 เท่า ณ สิ้นปี 2564 อันเป็นผลมาจากผลสำเร็จจากการเสนอขายหุ้นออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ของบริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ITC) ในไตรมาส 4 ของ ปี 2565 และ EBITDA ที่แข็งแกร่ง ซึ่งแสดงถึงสถานะทางการเงินที่มั่นคง

ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปยังคงเป็นธุรกิจที่่สร้างรายได้จากการขายสูงสุดสำหรับไทยยูเนี่ยน โดยคิดเป็นร้อยละ 43 ของยอดขายรวมในปี 2565 อันเป็นผลจากราคาขายที่ปรับสูงขึ้นและความต้องการซื้อที่แข็งแกร่ง ส่วนมูลค่ายอดขายจากธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง แช่เย็น และธุรกิจที่เกี่ยวข้องคิดเป็นร้อยละ 37 ของยอดขายรวม ในขณะที่่ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงมีสัดส่วนยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คิดเป็นร้อยละ 14 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 ในปี 2564 เนื่องจากเทียบกับฐานที่ต่ำโดยเป็นผลจากการปิดโรงงานชั่วคราวในปีที่ผ่านมา ความต้องการซื้อที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง และราคาขายที่ปรับสูงขึ้น ส่วนผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและอื่นๆ มีสัดส่วนร้อยละ 7 ของยอดขายรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 6 ของ ยอดขายรวมในปี 2564

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัทในปี 2565 มีดังต่อไปนี้:

1. ความต้องการซื้อที่แข็งแกร่งจากธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง และความสำเร็จในการแยกธุรกิจที่มีศักยภาพสูงเพื่อการเติบโต

เนื่องจากบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการปลดล็อกมูลค่ากิจการที่่ซ่อนอยู่ และการแยกธุรกิจที่่มีศักยภาพสูงเพื่อการเติบโต ได้แก่ ITC ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง เรือธงของไทยยูเนี่ยน หนึ่งในผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงชั้นนำของโลก ที่มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงระดับพรีเมียมแบบเปียก และขนมสำหรับสัตว์เลี้ยง ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่่ 9 ธันวาคม 2565

ITC ได้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนรวม 660 ล้านหุ้น ประกอบด้วยหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 600 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่ถือโดยไทยยูเนี่ยนจำนวน 60 ล้านหุ้น ในราคา 32 บาทต่อหุ้น มีมูลค่าเสนอขายรวม 21 พันล้านบาท ถือเป็นหุ้น IPO ที่มีมูลค่าการเสนอขายสูงที่สุดในกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของประวัติศาสตร์หุ้นไทย และเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่่ใหญ่ที่สุดในปี 2565 โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO ที่ 96 พันล้านบาท

ทั้งนี้้ ภายหลังจากการเสนอขายหลักทรัพย์ สัดส่วนการถือหุ้นของไทยยูเนี่ยนใน ITC ลดลงจากร้อยละ 99.78 เป็นร้อยละ 77.82

2. ความท้าทายจากการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจ Red Lobster

ในปี 2559 ไทยยูเนี่ยนเข้าลงทุนเชิงกลยุทธ์ใน Red Lobster ธุรกิจร้านอาหารทะเลที่ใหญ่ที่่สุดในโลก โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นแบ่งเป็นหุ้นสามัญ ร้อยละ 25 และหุ้นบุริมสิทธิร้อยละ 24 ในช่วงปี 2565 บริษัทฯ มีส่วนแบ่งผลขาดทุนจากธุรกิจ Red Lobster เท่ากับ 1,207 ล้านบาท (เทียบกับผลขาดทุนเท่ากับ 178 ล้านบาท ในปี 2564) ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน และอัตราเงินเฟ้อที่่เพิ่มสูงอย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อจำนวนผู้มาใช้บริการร้านอาหารลดลง และการชะลอการใช้จ่ายของผู้บริโภค ตลอดจนความท้าทายในห่วงโซ่อุปทาน

นอกจากนี้้ ในปี 2565 รายได้จากอัตราดอกเบี้ยของหุ้นบุริมสิทธิเท่ากับจำนวน 18 ล้านบาท (เทียบกับจำนวน 1,216 ล้านบาทในปี 2564) เป็นผลจากจากอัตราดอกเบี้ยในประเทศสหรัฐอเมริกาปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามในปี 2565 บริษัทฯ มีเครดิตภาษีเงินได้จาก Red Lobster จำนวน 734 ล้านบาท

3. ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

ไทยยูเนี่ยนมียอดขายร้อยละ 89 ที่เกิดขึ้นในสกุลเงินต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ยูโร และปอนด์สเตอร์ลิง โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐในช่วงไตรมาส 4/2565 อยู่ที่่ 34.95 ในเดือนธันวาคม 2565 หลังจากอ่อนค่า ต่ำสุดที่่ 38.08 ในเดือนตุลาคม 2565 (ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย) อย่างไรก็ตามบริษัทฯ มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอยู่เสมอ โดยครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 80 ของยอดขายที่คาดการณ์ไว้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

อ้างอิงจากค่าเงินเหรียญสหรัฐที่มีความผันผวนอย่างมากตลอดปี 2565 และอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับเงินบาท ณ สิ้นปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการปรับรายได้เชิงลบที่่ 2,058 ล้านบาท และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่่ 800 ล้านบาทในปี 2565

ดูเพิ่มเติม

ภาพรวมธุรกิจ แยกโดยกลุ่มธุรกิจ

กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป

ในปี 2565 ยอดขายกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปมีมูลค่า 66,510 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 12.8 จาก 58,955 ล้านบาทในปี 2564 โดยปริมาณขายเพิ่มขึ้น 355,088 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากราคาขายที่ปรับสูงขึ้นและความต้องการสินค้าที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชียและประเทศสหรัฐอเมริกา จากการปรับเข้าสู่สภาวะปกติหลังจากที่มีการกักตุนสินค้าในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงแรกของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ในปี 2565 กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปยังคงมีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 21.3 ซึ่งเป็นผลจากการปรับปรุงความสามารถในการทำกำไรของสินค้าทั้งกลุ่มราคาเฉลี่ยปลาทูน่าพันธุ์์ท้องแถบ (Skipjack) (จากมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก/ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ) ในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 มาอยู่ที่่ 1,663 เหรียญสหรัฐต่อตัน จาก 1,406 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในปี 2564

กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง แช่เย็นและสินค้าที่เกี่ยวข้อง

ในปี 2565 ยอดขายกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง แช่เย็น และสินค้าที่เกี่ยวข้องมีมูลค่า 56,964 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.5 จาก 58,417 ล้านบาทในปีก่อนหน้า มีปัจจัยหลักมาจากความต้องการซื้อที่ลดลงจากธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจร้านอาหารในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อที่่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามการลดลงถูกชดเชยด้วยความต้องการซื้อสินค้าที่แข็งแกร่งจาก ตลาดในทวีปเอเชียและยุโรป และราคาขายที่ปรับที่สูงขึ้น ทั้งนี้ อัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง และแช่เย็นอยู่ ที่ร้อยละ 7.7 ลดลงจากร้อยละ 11.8 ในปี 2564 เนื่องจากการปรับเข้าสู่ภาวะปกติของตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงราคาวัตถุดิบโดยเฉพาะกุ้งและปลาแซลมอนยังคงอยู่ในระดับสูง และความท้าทายในห่วงโซ่อุปทาน

ในปี 2565 ราคาวัตถุดิบกุ้งขาวเฉลี่ย (ขนาดกุ้ง 60 ตัวต่อกิโลกรัม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 อยู่ที่ 162 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาเฉลี่ยปี 2564 ที่ 138 บาทต่อกิโลกรัม และราคาปลาแซลมอนเฉลี่ยอยู่ที่ 80 นอร์วีเจียนโครนต่อกิโลกรัมเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 จากราคาเฉลี่ย ปี 2564 ที่ 59 นอร์วีเจียนโครนต่อกิโลกรัม

กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง

ในปี 2565 ยอดขายของธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงมีมูลค่า 21,693 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.0 จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน รวมถึงการเติบโตของปริมาณขายที่่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 จากปีก่อนหน้า มีปัจจัยหลักมาจากราคาขายที่่ปรับสูงขึ้นและความ ต้องการซื้อสินค้าที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ อัตรากำไรของธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ในปี 2565 ยังเติบโตอย่างมีนัยสำคัญที่่ร้อยละ 26.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 24.3 ในปี 2564 เนื่องจากบริษัทฯ มีกลยุทธ์ที่่มุ่งเน้นระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีอัตรากำไรสูง เช่นขนมสัตว์เลี้ยง

กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและอื่น ๆ

ในปี 2565 ยอดขายของธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและอื่นๆ มีมูลค่า 10,420 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 15.6 จากปีก่อนหน้า โดยมีปริมาณขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 จากปีก่อนหน้า จากทุกกลุ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจบรรจุภัณฑ์ธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า และธุรกิจใหม่ๆ โดยบริษัทฯ มีอัตรากำไรของธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและอื่นๆ ในปี 2565 ลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 28.0 จากร้อยละ 29.4 ใน ปี 2564 จากปรับสัดส่วนการขายจากระหว่างธุรกิจ



ภาพรวมธุรกิจ แยกตามภูมิภาค

ในปี 2565 สัดส่วนยอดขายในตลาดหลัก คือสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 44.0 ของยอดขายรวม ยุโรปมีสัดส่วนร้อยละ 26.3 ของยอดขายรวม สัดส่วนยอดขายที่เติบโตขึ้นในทั้งสองตลาดมีปัจจัยหลักมาจากยอดขายของธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงที่มีการเติบโต สำหรับประเทศไทยมีสัดส่วนยอดขายอยู่ที่ร้อยละ 10.5 ของยอดขายรวม เติบโตอย่างแข็งแกร่งจากธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงและธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป นอกจากนี้สัดส่วนยอดขายจากภูมิภาคอื่นๆ รวมกันอยู่ที่่ร้อยละ 19.1 ของยอดขายรวม

สกุลเงินบาทเทียบกับสกุลเงินหลัก คือ เงินเหรียญสหรัฐ (เงินบาทเทียบเหรียญสหรัฐอ่อนค่า ร้อยละ 9.2 จากปีก่อน) ยูโร (เงินบาทเทียบยูโรแข็งค่า ร้อยละ 2.5 จากปีก่อน) และปอนด์สเตอร์ลิง (เงินบาทเทียบปอนด์สเตอร์ลิงแข็งค่า ร้อยละ 1.7 จาก ปีก่อน) โดยอัตราแลกเปลี่ยนของเงินเหรียญสหรัฐเทียบกับสกุลเงินบาทมีความผันผวนอย่างมาก เช่นเดียวกับยูโรและปอนด์สเตอร์ลิง ที่่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทตลอดทั้งปี 2565 ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนถือเป็นปัจจัยหลักที่่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ

ยอดขายในตลาดสหรัฐอเมริกาในปี 2565 เติบโตจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 9.2 เนื่องจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปและธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ราคาขายที่ปรับสูงขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบบางส่วนจากยอดขายของธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็นที่ลดลงจากปี 2564 ที่มีผลประกอบการที่แข็งแกร่งกว่าระดับปกติ ยอดขายใน ตลาดยุโรปในปี 2565 เติบโตจากปีก่อนหน้าร้อยละ 2.6 มีปัจจัยหลักจากราคาขายที่ปรับสูงขึ้น และปริมาณขายที่เติบโตในกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็น และธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเยอรมันและฝรั่งเศสท่ามกลางวิกฤตด้านพลังงาน ความกังวลเรื่องสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และสกุลเงินบาทที่่แข็งค่า

ยอดขายจากประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในปี 2565 เติบโตจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 12.4 และร้อยละ 24.8 ตามลำดับ จากราคาขายที่ปรับสูงขึ้น และปริมาณขายสินค้าที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปกลุ่มธุรกิจ อาหารสัตว์เลี้ยง และกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า

ดูเพิ่มเติม

แนวทางการดำเนินงานในอนาคต

ไทยยูเนี่ยนมีวิสัยทัศน์ที่่จะเป็นผู้นำในธุรกิจอาหารทะเลที่่น่าเชื่อถือที่่สุดของโลก ตลอดจนใส่ใจดูแลและรักษาทรัพยากรต่างๆ เพื่อรักษาให้คงไว้แก่คนรุ่นหลัง เรายังมุ่งที่จะส่งมอบคุณค่าทางสารอาหารที่ดีผ่านผลิตภัณฑ์ที่มีการจัดหาวัตถุดิบมาอย่างมีความรับผิดชอบสู่ผู้บริโภคทั่วโลก เพื่อที่จะสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อบริษัท

ไทยยูเนียนสานต่อความมุ่งมั่นดังกล่าวผ่านกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® เพื่อดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้คน ควบคู่ไปกับการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลภายใต้แนวคิด “Healthy Living, Healthy Oceans” ในต้นปี 2566 บริษัทฯ มีแผนประกาศการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ของ SeaChange® พร้อมเป้าหมายใหม่และพันธสัญญาใหม่ จนถึงปี 2573 ซึ่งจะรวมถึงการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ การแก้ปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การคุ้มครองสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ การฟื้นฟูระบบนิเวศที่สำคัญ ตลอดจนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ด้วยผลงานธุรกิจระดับโลกของไทยยูเนียน บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลประกอบการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายปี 2568 ที่่จะสร้างผลกำไร EBITDA ที่ 450-550 ล้านเหรียญสหรัฐ และอัตรากำไรขั้นต้นให้สูงกว่าร้อยละ 20 เรายังคงมุ่งมั่นที่่จะใช้นวัตกรรมเป็นปัจจัยที่สร้างความแตกต่างจากผู้เล่นรายอื่น และให้ความยั่งยืนเป็นหัวใจของการดำเนินงาน และทุกๆ การตัดสินใจทางธุรกิจและบรรลุเป้าหมายที่จะมีรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 10 ของรายได้ทั้งหมด

ในปี 2566 ไทยยูเนี่ยนตั้งเป้าการเติบโตของยอดขายที่่ร้อยละ 5-6 จาก ปีก่อนหน้า และอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่่ระดับประมาณร้อยละ 18.0-18.5 อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารต่อยอดขาย คาดการณ์อยู่ที่่ประมาณร้อยละ 11.0-12.0 และคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยสุทธิจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5-1.0 ใ ปี 2566

ในปี 2566 ไทยยูเนี่ยนมีแผนใช้เงินลงทุนจำนวน 6.0 – 6.5 พันล้านบาทสำหรับการลงทุนในกลุ่มธุรกิจใหม่ รวมทั้งการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานของธุรกิจในปัจจุบันเพื่อให้บริษัทฯ สามารถเติบโตและสร้างกำไรได้อย่างยั่งยืน

การลงทุนหลักของเราในปี 2566 คือการลงทุนในโรงงานอาหารพร้อมทาน Culinary และโรงงาน Protein Hydrolysate และ Collagen Peptide รวมถึงโรงงานอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียกในประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทฯ ยังมุ่งลงทุนและปรับปรุงเครื่องจักร อุปกรณ์และอาคารอื่นๆ รวมทั้งขยายกำลังการผลิตในธุรกิจหลัก ทั้งนี้ การให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พร้อมกับการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จะช่วยส่งผลให้สถานะทางการเงินของบริษัทฯ เข้มแข็งขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของกระแสเงินสดรับ

ไทยยูเนี่ยนยังคงมุ่งมั่นที่่จะรักษาอัตราจ่ายเงินปันผลในระดับสูง โดยเรามีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิในแต่ละปี และบริษัทจะแบ่งจ่ายเงินปันผลเป็น 2 งวดต่อปี

ดูเพิ่มเติม

อัตราส่วนทางการเงิน

อัตราส่วนทางการเงิน 2563 2564 2565
อัตราส่วนสภาพคล่อง      
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 1.37 1.56 2.38
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.45 0.54 0.83
อัตราส่วนโครงสร้างของทุน      
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.59 1.68 1.07
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า)** 1.05 1.14 0.68
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า)** 0.94 0.99 0.54
อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (เท่า) 5.22 6.21 4.29
อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน      
อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์ (เท่า) 0.92 0.91 0.89
อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (เท่า) 2.89 2.71 2.59
อัตราส่วนการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (เท่า) 11.11 11.81 11.50
อัตราส่วนการหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า (เท่า) 9.64 10.03 9.90
จำนวนวันหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (วัน) 125 133 139
จำนวนวันหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (วัน) 32 30 31
จำนวนวันหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า (วัน) 37 36 36
อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร      
อัตรากำไรขั้นต้น (ร้อยละ) 17.7 18.2 17.5
อัตรากำไร EBITDA (ร้อยละ) 9.8 10.6 8.3
อัตรากำไรสุทธิ (ร้อยละ) 4.7 5.7 4.6
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ร้อยละ) 14.1 16.1 11.1
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ร้อยละ)** 6.3 6.9 4.9
อัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุนเฉลี่ย 9.2 10.1 6.8
ข้อมูลต่อหุ้น      
กำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติต่อหุ้น (บาท) 1.26 1.66 1.47
เงินปันผลต่อหุ้น (บาท) 0.72 0.95 0.84
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท) 9.69 11.18 15.7
* หนี้สิน คือ หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเท่านั้น
** อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ คือ กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี/ สินทรัพย์รวมเฉลี่ย

บทวิเคราะห์งบการเงิน

ยอดขาย

ในปี 2565 บริษัทฯ มียอดขายรวมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 155.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 จากปีก่อนหน้า เติบโตแข็งแกร่งจากการดำเนินงานของธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตร้อยละ 48.0 จากปีก่อน ธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าเติบโตร้อยละ 15.6 จากปีก่อน และธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปเติบโตร้อยละ 12.8 จากปีก่อน รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ ขณะที่ยอดขายจากธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็นลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.5 ส่วนปริมาณขายโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากปีก่อน เนื่องจากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า และธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป มียอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 66.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43 ของยอดขายรวมในปี 2565 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 จากปีก่อน ซึงเป็นผลจากราคาขายที่ปรับสูงขึ้น และความต้องการซื้อที่แข็งแกร่งหลังจากยอดขายมีการปรับลดลงสู่ระดับปกติ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบแรกในปี 2563
  • กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง แช่เย็น และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มียอดขายลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 2 จากปีก่อน ทำให้สัดส่วนยอดขายในปี 2565 ลดลงไปอยู่ที่ร้อยละ 37 ของยอดขายรวม เทียบกับร้อยละ 41 ของยอดขายรวมในปี 2564 เนื่องจากความต้องการซื้อที่ลดลงในธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจร้านอาหารในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ชดเชยบางส่วนด้วยความต้องการซื้อสินค้าที่แข็งแกร่งในตลาดเอเชียและยุโรป ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากราคาขายที่่เพิ่มขึ้น
  • กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง มีสัดส่วนยอดขายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 ของยอดขายรวมในปี 2564 เป็นร้อยละ 14 ของยอดขายรวมหรือเท่ากับ 21.7 พันล้านบาท ในปี 2565 มีปัจจัยหลักจากราคาขายที่ปรับสูงขึ้น และความต้องการซื้อที่แข็งแกร่ง
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า และอื่นๆ มียอดขายเท่ากับ 10.4 พันล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 16 จากปีก่อน เนื่องจากการเติบโตในทุกกลุ่มธุรกิจ

ในปี 2565 สัดส่วนยอดขายของธุรกิจรับจ้างผลิตเติบโตกว่าธุรกิจแบรนด์ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนเป็นร้อยละ 62 และร้อยละ 38 ของยอดขายรวมตามลำดับ โดยยอดขายของธุรกิจแบรนด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จาก ปีก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายสินค้าแบรนด์เติบโตที่ร้อยละ 5 จากปีก่อน ในขณะที่่ธุรกิจร้านอาหารมียอดขายลดลง ส่วนยอดขายของสินค้ารับจ้างผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 จากปีก่อนหน้า มีปัจจัยหลักจากราคาขายที่่ปรับสูงขึ้นและปริมาณขายที่่เติบโตร้อยละ 12 จากปีก่อนหน้า จากความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นในธุรกิจหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปและผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า รวมถึงการปรับสัดส่วนของสินค้าระหว่างแบรนด์และสินค้ารับจ้างผลิต

กำไรขั้นต้น

บริษัทฯ รายงานกำไรขั้นต้นที่สูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2565 เท่ากับ 27.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จากปีก่อนหน้า โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ร้อยละ 17.5 เป็นผลจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของยอดขายของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป และธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป มีอัตรากำไรขั้นต้นคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 21.3 เนื่องจากการปรับสัดส่วนการขายสินค้า แม้ว่าราคาวัตถุดิบจะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะปลาทูน่า
  • กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็น มีอัตรากำไรขั้นต้นลดลงจากปีก่อน จากการปรับตัวสู่ภาวะปกติของตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาวัตถุดิบโดยเฉพาะกุ้งและปลาแซลมอนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และความท้าทายในห่วงโซ่อุปทาน
  • กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง มีกำไรขั้นต้นที่ร้อยละ 26.3 มีปัจจัยหลักมาจากกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เช่นขนมสัตว์เลี้ยง
  • กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า และอื่นๆ มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ร้อยละ 28.0 เนื่องจากกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์สินค้าพร้อมทาน (ready-to-eat) ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า และบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน
ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร (SG&A)

ในปี 2565 ค่าใช้จ่ายการขายและบริหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 จากปีก่อน สอดคล้องกับการเติบโตของยอดขาย และผลกระทบจากต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายทางการตลาดและค่าโฆษณาลดลง อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหารต่อยอดขายในปี 2565 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับร้อยละ 12.4 ในปี 2564

กำไรจากการดำเนินงาน

ในปี 2565 บริษัทฯ มีกำไรจากการดำเนินงาน 8.1 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.5 จาก 8.3 พันล้านบาทในปี 2564 สาเหตุหลักมาจากผลกระทบจากรายการพิเศษที่เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างโรงงาน RÜGEN FISCH จำนวน 274 ล้านบาท (ก่อนหักภาษีี) การลดลงถููกชดเชยบางส่วน ด้วยผลการดำเนินงานโดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้นและอัตราค่าใช้จ่ายในการขาย และบริการต่อยอดขายที่ลดลง ทั้งนี้้ หากไม่รวมผลกระทบจากรายการพิเศษ กำไรจากการดำเนินงานในปี 2565 เท่ากับ 8.3 พันล้านบาท

รายได้อื่น (รวมส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนจากเงินลงทุนบริษัทร่วม)

ในปี 2565 บริษัทฯ มีรายได้อื่นมูลค่ารวม 0.9 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 49.9 จาก 1.8 พันล้านบาทในปี 2564 สาเหตุหลักจากการลดลงของดอกเบี้ยหุ้นบุริมสิทธิของ Red Lobster บันทึกที่ 18 ล้านบาทในปี 2565 เทียบกับบันทึกที่ 1,216 ล้านบาทในปี 2564 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของอัตราดอกเบี้ยในประเทศสหรัฐอเมริกา

กำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

ในปี 2565 มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลงร้อยละ 16.5 จากปีก่อน หรือคิดเป็น 800 ล้านบาท เป็นผลจากความผันผวนอย่างมากของสกุลเงินบาทต่อเหรียญสหรัฐตลอดทั้งปี 2565 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาส 4/ปี 2565

ค่าใช้จ่ายทางการเงิน

ในปี 2565 ต้นทุนทางการเงินอยู่ที่ 2.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มขึ้นของเงินทุนหมุนเวียนสุทธิในการดำเนินงานจากความกดดันของอัตราเงินเฟ้อ และการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลัง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้้ยเงินกู้ยืมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.04 จาก 2.67 ในปี 2564

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

สำหรับปี 2565 บริษัทฯ มีเครดิตภาษีเงินได้จำนวน 840 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายภาษีจำนวน 742 ล้านบาทในปี 2564 มีสาเหตุหลักมาจากความสามารถในการทำกำไรที่ลดลงจากการดำเนินงานของธุรกิจ Red Lobster และการดำเนินงานในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในปี 2565 อัตราภาษีที่แท้จริง (effective tax rate) อยู่ที่ร้อยละ -12.8 เมื่อเทียบกับ ร้อยละ 8.2 ในปี 2564

กำไรสุทธิ

กำไรสุทธิในปี 2565 อยู่ที่่ 7.1 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.9 จากปีก่อน มีสาเหตุหลักจากส่วนแบ่งขาดทุนจากธุรกิจ Red Lobster ที่เพิ่มขึ้น และรายได้อื่นที่่ลดลงจากการปรับมูลค่ายุติธรรมของ Red Lobster และค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างโรงงาน Rügen Fisch จำนวน 195 ล้านบาท (หลังหักภาษี) หากไม่รวมผลกระทบที่ไม่เป็นตัวเงินดังกล่าว กำไรสุทธิปี 2565 จะเท่ากับ 8.2 พันล้านบาท โดยอัตรากำไรสุทธิในปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 เทียบกับร้อยละ 5.7 ในปี 2564

บทวิเคราะห์สถานะทางการเงิน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 สินทรัพย์รวมทั้งหมดของบริษัทฯ อยู่ที่ 182.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 จาก 166.6 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 เนื่องจากระดับสินค้าคงคลังและลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการเติบโตของยอดขาย รวมถึงเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น จากการ IPO ของ ITC

หนี้้สินรวมปรับลดลงมาอยู่ที่ 94.4 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.5 จาก 104.4 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 สาเหตุหลักจากการลดลงของเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปีจำนวน 12.5 พันล้านบาท และการชำระคืนเงินกู้หลังจากการ IPO ของ ITC

ส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด (รวมหุ้นกู้ลักษณะคล้ายทุนมูลค่า 6 พันล้านบาท) อยู่ที่ 88.1 พันล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.7 จาก 62.2 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยจากการ IPO ของ ITC

บทวิเคราะห์กระแสเงินสด

ในช่วงปี 2565 เงินสดรับจากกิจกรรมการดำเนินงานอยู่ที่่ 5.9 พันล้านบาท กระแสเงินสดเป็นบวกที่่ 1.8 พันล้านบาท มีปัจจัยหลักจาก EBITDA ที่่แข็งแกร่งที่ 12.9 พันล้านบาท ถึงแม้ว่าเงินทุนหมุนเวียนสุทธิเพิ่มขึ้น

เงินสดสุทธิที่ใช้ในกิจกรรมการลงทุนอยู่ที่ 5.4 พันล้านบาท ลดลงจาก 8.1 พันล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า มีสาเหตุจากการลงทุนในบริษัทร่วมที่ลดลง (0.3 พันล้านบาทในปี 2565 เทียบกับ 3.0 พันล้าน ในปี 2564) และเงินสดรับจากเงินลงทุนระยะสั้นที่่ครบกำหนด

บริษัทฯ บันทึกเงินสดรับสุทธิสำหรับกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 2.7 พันล้าน บาทในช่วงปี 2565 ลดลงจาก 4.6 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มีสาเหตุหลักจากการจ่ายคืนเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน และหุ้นกู้ที่่ครบกำหนดชำระในเดือนมกราคม 2565

จำนวนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้นสุทธิ 3.2 พันล้านบาท ในปี 2565 ส่งผลให้เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ สิ้นปี 2565 อยู่ที่ 13.0 พันล้านบาท (รวมการใช้เงินเบิกเกินบัญชี)

ดูเพิ่มเติม