การบริหารความเสี่ยง

บริษัทตระหนักดีว่าการบริหารและจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจของบริษัทโดยส่งเสริมให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีและมีความเข้าใจต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในธุรกิจ ตลอดจนมีเครื่องมือและกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม การบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพต้องสร้างวัฒนธรรมที่เหมาะสมและมีการปฏิบัติตลอดทั้งองค์กร

  • กระบวนการบริหารความเสี่ยงของบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นไปตามมาตรฐานโลก โดยบริษัทติดอยู่ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) เป็นปีที่ 9 ติดต่อกัน และปี 2565 บริษัทคว้าอันดับ 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารของโลก สำหรับหัวข้อการบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤตบริษัทอยู่ในเปอร์เซ็นไทล์ที่ 100 ต่อเนื่องกัน 3 ปี

วัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง

บริษัทแสดงออกถึงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงในทุกระดับของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากระดับคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารส่งเสริมและบังคับให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรการกำหนดนโยบาย กรอบงาน แนวปฏิบัติ และโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมของบริษัท

กรรมการบริษัท ซึ่งรวมถึงกรรมการที่เป็นผู้บริหารและไม่ใช่ผู้บริหาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และผู้บริหาร จะติดตาม ประเมิน และได้รับการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ปัจจัยความเสี่ยง และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่

บริษัทสนับสนุนให้พนักงานได้รับทราบเรื่องการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมนับแต่วันแรกที่ร่วมงานกับบริษัทผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การปฐมนิเทศพนักงานใหม่ การฝึกอบรมด้านการบริหารความเสี่ยง กิจกรรมต่อเนื่องและการอัปเดตข่าวสารต่างๆ

นอกจากนี้ การบริหารความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบในการวางแผนทางธุรกิจ การตัดสินใจ และการดำเนินงานตัวอย่างของการพิจารณาที่สำคัญ รวมถึง

  • การพิจารณาความเสี่ยงระดับกลยุทธ์ในช่วงกระบวนการพัฒนากลยุทธ์และการบริหารความเสี่ยงในระหว่างการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้
  • การบริหารความเสี่ยงในการลงทุนเชิงกลยุทธ์ซึ่งรวมถึงการเข้าซื้อและการควบรวมกิจการ การลงทุนทางธุรกิจประเภทใหม่ รายจ่ายการลงทุนขนาดใหญ่ รวมอยู่ในการบริหารความเสี่ยง โดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะพิจารณาความเสี่ยงและแผนบริหารความเสี่ยงว่าเพียงพอและเหมาะสม
  • บริษัทมีนโยบายการเงินและการบริหารความเสี่ยงทางการเงินของกลุ่ม ครอบคลุมถึงความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อลูกค้า ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และแนวทางปฏิบัติด้านการบริหารเงินทุนและธรรมาภิบาล ตัวชี้วัด ที่ใช้ในการพิจารณาและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร และควบคุมที่สำคัญสำหรับทีมบริหารและการเงินทั่วโลก
  • คณะกรรมการพัฒนาอย่างยั่งยืน นำโดยประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารในฐานะประธานกรรมการ คณะกรรมการ ดูแลกลยุทธ์และการบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืนอย่างใกล้ชิด
  • คณะกรรมการด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ นำโดยประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารในฐานะประธานคณะกรรมการ ดูแลกลยุทธ์และการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างใกล้ชิด
โปรดคลิกที่นี่ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของคณะกรรมการชุดย่อยของไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


กรอบงานการบริหารความเสี่ยง

กรอบงานการบริหารความเสี่ยงของบริษัทกำหนดขึ้นโดยอ้างอิงมาตรฐานสากล COSO ERM ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติให้ฝ่ายบริหารและพนักงานทุกคนสามารถปฏิบัติตามได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กรอบงานบริหารความเสี่ยงกำหนดให้มีการระบุปัจจัยเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การจัดการ การติดตาม และการสื่อสารอย่างเป็นระบบ อย่างต่อเนื่องเพื่อลดโอกาสของการเกิดความเสี่ยงซ้ำ และจำกัดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อธุรกิจของบริษัทกลุ่มไทยยูเนี่ยนดำเนินการบริหารความเสี่ยงทั้งในระดับ กลุ่มบริษัท ระดับกลุ่มธุรกิจ และระดับบริษัทในเครือ บริษัทยังทบทวนความเสี่ยงร่วมกับผู้ประสานงานความเสี่ยง เจ้าของความเสี่ยง และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในเป็นทุกไตรมาส ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้รายงานความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่อบริษัทกลุ่มไทยยูเนี่ยนและแผนบรรเทาความเสี่ยงต่อกรรมการบริษัทเป็นประจำทุกไตรมาส

ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เป็นปัจจัยสำคัญที่กลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยนใช้พิจารณากำหนดกลยุทธ์และแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมากและระดับสูงเป็นความเสี่ยงที่เกินระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และต้องกำหนดให้มีมาตรการจัดการและแผนจำกัดความเสี่ยงในทันที ตัวอย่างด้านล่างคือระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของบริษัทฯ

ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

  • บริษัทฯ ไม่ยอมรับการทำงานที่ก่อให้เกิดทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิต บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะให้พนักงานทุกคนทั่วโลกได้รับความปลอดภัยในการทำงาน

ด้านการหยุดชะงักทางธุรกิจที่โรงงานผลิต

  • บริษัทฯ ไม่ยอมรับเหตุการณ์ใดๆที่ทำให้การดำเนินงานของโรงงานหยุดชะงักกระทันหันและผลกระทบต่อกำลังการผลิต บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะลดความเสี่ยงทั้งโอกาสที่จะเกิดและผลกระทบต่อกำลังการผลิต มากกว่า 1 วัน

ด้านการให้สินบนและการคอร์รัปชัน

  • บริษัทมีนโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอรัปชันอย่างสิ้นเชิง ( Zero - Tolerance Policy) และถือปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชันในทุกพื้นที่ที่บริษัทดำเนินธุรกิจ

ปัจจัยความเสี่ยง

ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป เป็นบริษัทแปรรูปอาหารทะเลชั้นนำในระดับโลกที่มีผลการดำเนินงานและผลประกอบการบริษัทเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ความเสี่ยงบางประการบริษัทสามารถจัดการเพื่อลดผลกระทบ และ/หรือลดโอกาสเกิดได้ อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเสี่ยงบางประการอยู่นอกเหนือการควบคุมหรือการจัดการของบริษัทและอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงาน ผลประกอบการ หรือชื่อเสียงของบริษัท

แผนภาพความเสี่ยงข้างต้นแสดงให้เห็นภาพรวมของความเสี่ยงที่สำคัญต่อธุรกิจที่มีผลต่อกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน ณ สิ้นปี 2565 และพัฒนาการระดับความเสี่ยงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 อย่างไรก็ตามเพื่อให้แน่ใจว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่อยู่ในวิสัยของบริษัท กลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยนได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงประจำปีร่วมกับ คณะผู้บริหารโดยคำนึงถึงปัจจัยรอบด้านจากผลการสำรวจความเสี่ยงระดับโลก เพื่อแสดงให้ คณะผู้บริหารตระหนักถึงความเสี่ยงระยะยาวที่อาจส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์และวัตุประสงค์ทางธุรกิจของกลุ่มบริษัท

นอกเหนือจากแผนภาพความเสี่ยงข้างต้นแล้ว บริษัทยังคงตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ที่ส่งผลกระทบในระดับโลก เช่น ความล้มเหลวในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ สภาพอากาศที่รุนแรง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ วิกฤตการจ้างงาน การพังทลายของความสามัคคีทางสังคม วิกฤตการดำรงชีวิต โรคติดเชื้อ การทำลายสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ วิกฤตหนี้สิน และการเผชิญหน้าทางเศรษฐศาสตร์ และได้พิจารณาความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่นี้ ในการประเมินความเสี่ยงร่วมกับ คณะผู้บริหารเป็นประจำทุกปีเพื่อให้แน่ใจว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่นั้นได้รับการจัดการตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

โปรดคลิกที่นี่ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของปัจจัยความเสี่ยง

โปรดคลิกที่นี่ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของปัจจัยความเสี่ยงเกิดใหม่